เมนู

4. จตุตถปฏิปทาสูตร


[171] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่พัก
ก่อด้วยอิฐชื่อนาทิกะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มรณสติอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มี
อานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็มรณสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางวันสิ้นไป กลางคืน
เวียนมาย่อมพิจารณาดังนี้ว่า ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมากหนอ
คือ งูพึงกัดเราก็ได้ แมลงป่องพึงต่อยเราก็ได้ ตะขาบพึงกัดเราก็ได้
เพราะเหตุนั้นเราพึงทำกาลกิริยา อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึง
พลาดล้มลงก็ได้ อาหารที่เราบริโภคแล้วไม่ย่อยเสียก็ได้ ดีของเรา
พึงซ่านก็ได้ เสมหะของเราพึงกำเริบก็ได้ ลมมีพิษดังศาตราของเรา
พึงกำเริบก็ได้ มนุษย์ทั้งหลายพึงเบียดเบียนเราก็ได้ พวกอมนุษย์
พึงเบียดเบียนเราก็ได้ เพราะเหตุนั้นพึงพิจารณาดังนี้ว่า ธรรมอัน
เป็นบาปอกุศลอันเรายังละไม่ได้ ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้ทำ
กาละในกลางคืน มีอยู่หรือหนอแล ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า
ธรรมอันเป็นอกุศลอันเรายังละไม่ได้ ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้
ทำกาละในกลางคืน มีอยู่ ภิกษุนั้นพึงกระทำความพอใจ ความ
พยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและ

สัมปชัญญะให้ยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นเสีย
เปรียบเหมือนคนที่มีผ้าไฟไหม้ หรือศีรษะถูกไฟไหม้ พึงกระทำ
ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่
ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้ยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือศีรษะนั้น
ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแหละภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า
ธรรมอันเป็นบาปอกุศลอันเรายังละไม่ได้ ที่จะเป็นอันตรายแก่เรา
ผู้ทำกาละในกลางคืน ไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์
หมั่นศึกษาทั้งกลางวันและกลางคืนในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางวัน
สิ้นไป กลางวันเวียนมาถึง ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า ปัจจัยแห่งความ
ตายของเรามีมากหนอ คือ งูพึงกัดเราก็ได้ แมลงป่องพึงต่อยเรา
ก็ได้ ตะขาบพึงกัดเราก็ได้ เพราะเหตุนั้นเราพึงทำกาลกิริยา
อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึงพลาดล้มลงก็ได้ อาหารที่เราบริโภค
แล้วไม่ย่อยเสียก็ได้ ดีของเราพึงซ่านก็ได้ เสมหะของเราพึงกำเริบ
ก็ได้ ลมมีพิษดังศาตราของเราพึงกำเริบก็ได้ มนุษย์หลายพึง
เบียดเบียนเราก็ได้ พวกอมนุษย์พึงเบียดเบียนเราก็ได้ เพราะเหตุนั้น
เราพึงทำกาลกิริยา อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั้นพึงพิจารณาดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลอันเรายังละ
ไม่ได้ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้ทำกาละในกลางวัน มีอยู่หรือ
หนอแล ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
อันเรายังละไม่ได้ที่จะพึงทำอันตรายแก่เราผู้ทำกาละในกลางวัน
มีอยู่ ภิกษุนั้นพึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ

ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้ยิ่ง เพื่อละธรรม
อันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นเสีย เปรียบเหมือนบุคคลมีผ้าถูกไฟไหม้
หรือศีรษะถูกไฟไหม้ พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความ
อุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้ยิ่ง
เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือศีรษะนั้น ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้า
แหละภิกษุพิจารณาอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลอันเรา
ยังละไม่ได้ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เรา ผู้ทำกาละในกลางวันไม่มี
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์ หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน
ในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มรณสติอันภิกษุ
เจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์
มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด.
จบ ปฏิทาสูตรที่ 4

5. ปัญจมปฏิปทาสูตร


[172] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา 8 ประการนี้ 8
ประการเป็นไฉน คือ อุฏฐานสัมปทา 1 อารักขสัมปทา 1 กัลยาณ-
มิตตตา 1 สมชีวิตา 1 สัทธาสัมปทา 1 ศีลสัมปทา 1 จาคสัมปทา 1
ปัญญาสัมปทา 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา 8 ประการนี้แล.
คนหมั่นในการทำงาน ไม่ประมาท จัด
การงานเหมะสม เลี้ยงชีพพอเหมาะ รักษาทรัพย์
ที่หามาได้ มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล รู้ถ้อยคำ
ปราศจากความตระหนี่ ชำระทางสัมปรายิกัตถ-
ประโยชน์เป็นนิตย์ ธรรม 8 ประการดังกล่าวนี้
ของผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา อันพระพุทธเจ้า
ผู้มีพระนามอันแท้จริง ตรัสว่านำสุขมาให้ใน
โลกทั้งสอง คือ ประโยชน์ในปัจจุบันนี้และความ
สุขในภายหน้า บุญ คือ จาคะนี้ ย่อมเจริญแก่
คฤหัสถ์ ด้วยประการฉะนี้.

จบ ปฏิปทาสูตรที่ 5